ความน่ากลัวของปืนลูกซองแฝด
ปืนลูกซองแฝด
ไม่ว่าจะเป็น แฝดซ้อน(Over&Under) หรือว่า แฝดขนาน(Side-by-Side Shotgun)
ถือว่าเป็น “ปืนครู” อีกกระบอก(แบบ)หนึ่ง ..เป็น “ปืนพราน” ที่ ครูพราน สมัยก่อนใช้ถือไม่ห่างมือเมื่อเข้าป่าหาอาหารประทังชีวิต
คุณสมบัติเด่นเฉพาะตัวของ ปืนลูกซองแฝด คือ มีลำกล้องที่ยิงใกล้และยิงไกล ในปืนกระบอกเดียวกัน!
หากนัดแรกยิงผิด ก็ยิงนัดที่สอง ได้ในทันที
นอกนั้น เหตุผลสำคัญที่ “ครูพราน” เลือกใช้ ปืนลูกซองแฝด (แทนที่จะเป็น ปืนยาวไรเฟิล) ก็คือ
“ปลอดภัย” กว่า
สมมุตว่า เดินเข้าป่าหมายจะยิง ไก่ป่า เป็นอาหาร ดันไปเจอ เสือ เข้าโดยบังเอิญ
จะเอากระสุนลูกปรายเม็ดเล็กๆ ขนาดเท่าเม็ดพริกไท จำนวน 70 เม็ด ไปยิงเสือ ..ก็ไม่สามารถหยุดยั้งมันเพื่อป้องกันชีวิตเราได้
ก็ต้องเปลี่ยนอีกลำกล้องหนึ่งที่เราบรรจุกระสุนลูกปรายเม็ดใหญ่ จำนวน 9 หรือ 12 เม็ด ยิงสู้กับเสือ
ขณะที่ปืนยาวอื่นๆ ไม่สามารถเปลี่ยนลำกล้อง เปลี่ยนกระสุนยิงได้ทัน
ความน่ากลัวของ “ปืนลูกซอง” คือ กระสุนหนึ่งนัดบรรจุลูกปรายไว้หลายเม็ด(ไม่นับกระสุนลูกโดด)
กลุ่มกระสุนพุ่งออกมาจากปากลำกล้องปืนได้ไกลและ “บานกว้างออกเท่ากระโด้ง”
โอกาสที่จะยิงพลาดเป้ามียากมาก!
ในทางตรงกันข้าม …ปืนยาวลูกซอง ก็ยิงให้ได้เนื้อกินยากที่สุดในกระบวนปืนยาวทั้งหมด
ผู้ยิงต้องมี “ศิลปะวิธี” มีความรู้-ประสบการณ์มาก ถึงจะได้กินเนื้อสัตว์ที่ยิงเป็นอาหาร
เพราะมีองค์ประกอบที่ต้องคิดคำนึงหลายข้อดังนี้
1. ขนาดของลำกล้อง หรือ Gauge เส้นผ่าศูนย์กลางของลำกล้องปืน เช่น .410, 20, 12 เป็นต้น
2. ความยาวของลำกล้องปืน เช่น 14″, 20″, 28″, 30″ เป็นต้น
3. ขนาดของโช้ค (Choke) ปลายลำกล้อง (โช้ค คือ ส่วนที่อยู่ในลำกล้อง ส่วนปลาย ทำหน้าที่บังคับกลุ่มกระสุนลูกปรายให้ กลุ่มแคบ หรือว่า แผ่กว้าง มากน้อยแค่ไหน)
4. รูปแบบ และ เบอร์ ของกระสุนลูกซอง เช่น กระสุนลูกโดด และ กระสุนลูกปราย, ลูกปราย BB, OO Buck, เป็นต้น
5. ระยะยิง
6. ชนิด/ขนาดของสัตว์ที่จะยิงเป็นอาหาร เช่น สัตว์ใหญ่เอาลูกปรายเม็ดเล็กๆยิงก็ไม่ได้ผล, เอาลูกปรายเม็ดใหญ่ไปยิงนก ตัวนกก็เละกระจุยไม่ได้กินเนื้อ ดังนี้เป็นต้น